Skip to content Skip to footer

อยากให้ลูกเขียนเก่ง ต้องฝึกด้านใดบ้าง?

ลองฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกกันแล้วแต่ทำไมลูกถึงยังเขียนหนังสือไม่ได้กันนะ? ทำไมลูกเขียนยังไม่ทันเสร็จก็ลุกออกจากกิจกรรมแล้วล่ะ? ทำไมฝึกจับดินสอยังไงลูกก็ทำตามไม่ได้? หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเขียนของลูกว่าทำไมลูกถึงยังเขียนไม่ได้ และควรแก้ไขอย่างไร วันนี้ก้านใบ คลินิกพัฒนาการเด็กลพบุรี จึงมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะสำคัญที่มีผลต่อการเขียนมาฝากค่ะ โดยการที่เด็กจะเขียนได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านนอกเหนือจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบถึงทักษะที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว จะสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาที่พบเจอกับลูกได้ค่ะ หากพร้อมแล้วมาเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ไปพร้อมกันนะคะ 1. การจัดท่าทางและการควบคุมรยางค์ส่วนต้น (Posture and Proximal control) การทรงท่าเป็นความสามารถในการจัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในระนาบที่เหมาะสม และรักษาสมดุลของร่างกายเพื่อให้เกิดความมั่นคงขณะนั่งและเคลื่อนไหว ในส่วนของการควบคุมระยางค์ส่วนต้นเป็นความสามารถในการควบคุมการทำงานของแขนและไหล่ให้มั่นคงอยู่ในตำแหน่งทิศทางเหมาะสม เพื่อให้ข้อมือ นิ้วมือทำการหยิบจับหรือเขียนได้ดี ดังนั้น หากเด็กมีข้อต่อหัวไหล่หรือกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรงก็จะส่งผลต่อการเขียนได้ ทำให้เด็กนั่งได้ไม่นาน มีการลุกเดินบ่อย หรือล้าง่าย สามารถส่งเสริมได้ผ่านกิจกรรมโหนเชือกหรือบาร์ กิจกรรมวาดรูปบนทราย กิจกรรมเขียนกระดานด้วยแปรงทาสี และกิจกรรมสแตมป์หมึกบนผนัง เป็นต้น 2.การควบคุมรยางค์ส่วนปลาย (Distal Control) การควบคุมรยางค์ส่วนปลายเป็นความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง รวมถึงการสร้างความมั่นคงแก่ส่วนโค้งของฝ่ามือ เพื่อให้เอื้อต่อการกำวัตถุขนาดต่าง ๆ สามารถส่งเสริมได้ผ่านกิจกรรมการใช้ขวดสเปรย์ในการพ่นสี การใช้หลอดหยด กิจกรรมดีดลูกแก้ว การเล่นของเล่นไขลาน เป็นต้น  3. การหยิบจับในรูปแบบต่าง ๆ…

Read More

พัฒนาการด้านสติปัญญา

พัฒนาการด้านความคิดความเข้าใจของเด็กในแต่ช่วงวัย

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจสงสัยในพัฒนาการด้านสติปัญญาของลูกว่าสมวัยหรือไม่ ลูกอายุเท่านี้ควรมีความสามารถและการเรียนรู้แบบไหน วันนี้ก้านใบ คลินิกพัฒนาการเด็กลพบุรีมีเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget's 4 Stages of Cognitive Development) มาแบ่งปันให้กับทุกๆท่านค่ะ ซึ่งคุณเพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการออกเป็น 4 ช่วงวัย โดยเด็กในแต่ละช่วงวัยจะมีความคิดความเข้าใจ ที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเราเข้าใจถึงความแตกต่างเหล่านี้เราจะสามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาเด็กๆ ให้เกิดทักษะทางสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยได้ค่ะ หากพร้อมแล้วไปเรียนรู้พร้อมๆกัน นะคะ ในช่วงแรกเกิด -2 ปี เรียกว่า Sensorimotor stage ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เด็กจะเรียนรู้โลกผ่านการสำรวจสิ่งต่างๆ โดยใช้การบูรณาการประสาทรับความรู้สึกหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน เช่น การรับรส การได้ยิน การสัมผัส การมองเห็น การได้กลิ่น…

Read More

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสมาธิสั้น

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ สมาธิสั้น

สมาธิสั้น คำนี้ได้ยินกันบ่อยมากๆใช่ไหมคะ?  แต่มีความเข้าใจบางอย่างที่ครูได้ยินมา แล้วเป็นเรื่องผิดๆเกี่ยวกับสมาธิสั้น

Read More