Skip to content Skip to footer
ลูกพูดช้า

ลูกพูดช้า

พูดภาษาการ์ตูน ยังไม่พูดเป็นคำ บอกความต้องการไม่ได้ ปัญหาเหล่านี้รบกวนใจของคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน ซึ่งเป็นพัฒนาการด้านภาษาที่เราควรใส่ใจและกังวลหากว่าลูกมีอาการพูดช้าโดยสามารถสังเกตได้จากพัฒนาการของลูกเมื่อเปรียบเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน ดังนี้ อาการที่บ่งบ่อกว่ามีปัญหาพูดช้า อายุ 1 ปี ยังไม่เรียกพ่อหรือแม่ ไม่พูดคำเดี่ยวที่มีความหมาย อายุ 1 ปี 6 เดือน พูดคำเดี่ยวได้น้อยกว่า 3 คำ ไม่ทำตามคำสั่งที่คุ้นเคย เช่น สวัสดี บายบาย เป็นต้น อายุ 2 ปี ไม่ชี้อวัยวะหรือรูปภาพตามคำบอก ไม่พูด 2 คำที่มีความหมาย เช่น กินข้าว ไปเที่ยว แม่มา เป็นต้น อายุ 3 ปี ทำตามคำสั่ง 2 ขั้นตอนไม่ได้ ไม่พูดหรือเล่าเรื่องด้วยประโยคง่ายๆ 3 คำติดกัน ลูกพูดช้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ เด็กมีโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อพัฒนาการ เช่น ออทิสติก ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น มีปัญหาการได้ยิน ส่งผลต่อการฟัง แปลความหมายและการพูดสื่อสาร…

Read More

การเขียนตามวัย

การเขียนตามวัย ไม่รีบร้อนเกินพัฒนาการ!

การที่เด็ก ๆ จะสามารถเขียนหนังสือ พยัญชนะ หรือสระต่าง ๆ ได้ดีในอนาคตนั้น เด็กจะต้องมีความสามารถในการเขียนขั้นพื้นฐานก่อน เช่น การขีด การเขียนรูปทรงต่าง ๆ รวมถึงมีการจับดินสอที่มีความเหมาะสมตามช่วงวัยค่ะ วันนี้พวกเราก้านใบ คลินิกพัฒนาการเด็กลพบุรี จึงอยากจะมากล่าวถึงทักษะการเขียนเบื้องต้น (Pre-writing skills) สำหรับเด็ก ๆ และมาเชิญชวนให้คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันค่ะว่าการจับดินสอและต้องมีการขีดเขียนแบบใดจึงจะเหมาะสมกับช่วงวัยของลูก ทำไมทักษะการเขียนเบื้องต้น (Pre-writing skills) จึงมีความสำคัญกับเด็ก ?           ทักษะการเขียนเบื้องต้น (Pre-writing skills) เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กในการพัฒนาความสามารถในการจับดินสอและขยับปรับตำแหน่งดินสอในมือขณะเขียนได้อย่างคล่องแคล่วเหมาะสม ส่งผลให้สามารถสร้างงานเขียนที่อ่านง่ายและมีประสิทธิภาพ แต่หากทักษะในด้านนี้ไม่ได้ถูกพัฒนาให้มีความสมวัย อาจนำไปสู่การทำให้เด็กมีความคับข้องใจและต่อต้านการเขียน เนื่องจากเด็กมีความยากลำบากในการขีดเขียน รวมถึงสามารถส่งผลกระทบทำให้เด็กมีความมั่นใจในตนเองลดลงและมีทักษะในการเรียนลดลงอีกด้วยค่ะ พัฒนาการการจับดินสอตามช่วงวัยและรูปทรงพื้นฐานในการเขียน 1. Palmar-supinate grasp (1-2 ปี) การจับดินสอด้วยการกํามือ ปลายแหลมของดินสออยู่ทางด้านนิ้วก้อย ข้อมืออยู่ในท่างอและหงายขึ้นเล็กน้อยจากระดับปกติ ใช้การเคลื่อนไหวของส่วนแขนทั้งหมดขณะเขียน รูปทรงพื้นฐานในการเขียน: ขีดเขียนขยุกขยิกแบบไม่มีจุดมุ่งหมายมีลักษณะขีดเขี่ยไปมา (scribbles) อุปกรณ์การเขียนที่เหมาะสม: “สีเทียนด้ามอ้วน” ช่วยให้จับถนัดมือและทนต่อแรงกดได้ดีกว่าดินสอหรือปากกาด้ามผอม เนื่องจากในช่วงวัยนี้เด็ก…

Read More

เวลาหน้าจอสำหรับเด็ก

การให้ลูกดูจอ ทำลายพัฒนาการของลูกจริงหรือ ?

เวลาหน้าจอ เด็กดูจอได้ไหม ลูกติดจอ ก้านใบคลินิกพัฒนาการเด็ก ในวันที่เทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ทุกคน สิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและง่ายที่จะเข้าถึง ปฏิเสธไม่ได้เลยค่ะว่าหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกที่เราทุกคนให้ความสำคัญมากในยุคนี้คือ โทรศัพท์มือถือ ซึ่งอุปกรณ์พกพาชิ้นนี้สามารถช่วยทำให้ชีวิตของเราง่ายขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งการติดต่อสื่อสาร การส่งข้อความ และการตอบสนองความต้องการผ่านสื่อชนิดต่าง ๆ นั้นเราสามารถทำได้ในทันที จนในบางครั้งผู้ปกครองอาจมีความคิดที่ว่าเทคโนโลยีชิ้นนี้สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยได้ เพราะมีสื่อที่สร้างขึ้นสำหรับเด็กให้เลือกใช้อยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน เพลงสำหรับเด็ก การเรียนรู้ตัวเลขตัวอักษร แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสื่อชิ้นนั้นสามารถกระตุ้นพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็กได้จริง           การศึกษาในปัจจุบันพบว่ามีพฤติกรรมการใช้หน้าจอในเด็กที่มีอายุน้อยมากขึ้น ซึ่งมีการรายงานที่แสดงให้เห็นว่าการดูจอนั้นส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็ก เกิดจากการที่เด็กขาดโอกาสในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย ไม่ได้ทำการเคลื่อนไหวสำรวจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ตามวัย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่าการเรียนรู้ผ่านการเคลื่อนไหวและการบูรณาการประสาทรับความรู้สึกนั้นมีความสำคัญกับเด็กในช่วง 0-2 ปีเป็นอย่างมาก เนื่องจากส่งผลต่อการพัฒนาทักษะด้านการรู้คิดของเด็กโดยตรง ในทางเดียวกันกับพัฒนาการทางด้านภาษาและสังคม เมื่อเด็กใช้เวลาอยู่กับจอมากขึ้น ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับคนจริง ๆ น้อยลง ส่งผลให้กระบวนการเรียนรู้ด้านการปรับตัวและทักษะการรับรู้อารมณ์ความรู้สึกไม่สามารถพัฒนาได้เท่าที่ควร ส่งผลต่อความเข้าใจและการแสดงออกทางภาษาและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น นอกจากนี้การศึกษายังพบว่า พฤติกรรมการใช้หน้าจอมีความสัมพันธ์กับทักษะด้านความคิดเชิงบริหารขั้นสูงของสมอง (Executive function: EF) ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญในการใช้ควบคุมกำกับตนเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จากผลการศึกษาที่กล่าวถึงในข้างต้นแสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองในยุคเทคโนโลยีควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้หน้าจอที่เกี่ยวข้องพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เกิดการส่งเสริมที่ถูกต้องและเหมาะสมค่ะ…

Read More

การส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยในช่วง 1-5 ปีแรก

สวัสดีผู้ปกครองทุกท่านค่ะ วันนี้ทางก้านใบ คลินิกพัฒนาการเด็กลพบุรี ได้นำสาระดี ๆ จากหนังสือเรื่อง กฎการเลี้ยงลูกแบบนักวิทยาศาสตร์สมอง ที่ลูกอยากให้คุณรู้ก่อนอายุ 5 ขวบ ซึ่งเขียนโดยคุณจอห์น เมดินา นักชีววิทยาด้านพันธุกรรมและศาสตราจารย์สาขาวิศกรรมชีวภาพของโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน หนังสือเล่มนี้ได้ถ่ายทอดประเด็นการส่งเสริมพัฒนาการทางสมองของเด็กไว้อย่างน่าสนใจหลายประเด็นด้วยกันค่ะ เรามาเริ่มกันที่ การส่งเสริมพัฒนาการทางสมองในช่วงที่ลูกน้อยอยู่ในครรภ์ อย่างที่ทราบกันว่าพัฒนาการของสมองนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์ของแม่ เด็กจะมีการพัฒนาในเรื่องชองประสาทสัมผัสต่าง ๆ ผ่านการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทและอวัยวะที่ใช้ในการับสัมผัส เช่น ตา หู จมูก เพื่อทำให้เด็กสามารถมองเห็น ได้ยิน และได้กลิ่น ซึ่งจะมีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเด็กคลอดออกมา ดังนั้นในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์แนะนำผู้ปกครองช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยผ่าน 4 พฤติกรรมที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยพัฒนาสมองของเด็กก่อนคลอดได้ อย่างแรกคือ การกินให้พอเหมาะ ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป “ควรเลือกกินอาหารที่อยู่ตรงกลางระหว่างสิ่งที่คนท้องอยากกินและสิ่งที่คนท้องควรกินเพื่อพัฒนาการที่ดีที่สุดของสมองเด็กในท้อง” อย่างที่สองคือ การกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะอาหารที่มีกรดโฟลิก พบได้ในผักสดใบเขียว เช่น คะน้า กะหล่ำปลี และกรดไขมันโอเมก้า-3 เช่น ปลาทะเล ปลาทู ไข่แดง อย่างไรก็ตามควรกินในปริมาณที่เหมาะสมค่ะ อย่างที่สามคือ การออกกำลังกายให้พอดี เพราะจะช่วยให้ร่างกายของคุณแม่แข็งแรงคลอดลูกได้ง่าย อย่างที่สี่คือ การไม่เครียดมากเกินไป…

Read More

อยากให้ลูกเขียนเก่ง ต้องฝึกด้านใดบ้าง?

ลองฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกกันแล้วแต่ทำไมลูกถึงยังเขียนหนังสือไม่ได้กันนะ? ทำไมลูกเขียนยังไม่ทันเสร็จก็ลุกออกจากกิจกรรมแล้วล่ะ? ทำไมฝึกจับดินสอยังไงลูกก็ทำตามไม่ได้? หลายครั้งที่คุณพ่อคุณแม่อาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการเขียนของลูกว่าทำไมลูกถึงยังเขียนไม่ได้ และควรแก้ไขอย่างไร วันนี้ก้านใบ คลินิกพัฒนาการเด็กลพบุรี จึงมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับทักษะสำคัญที่มีผลต่อการเขียนมาฝากค่ะ โดยการที่เด็กจะเขียนได้ต้องอาศัยองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านนอกเหนือจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดเล็ก เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบถึงทักษะที่จำเป็นต่อการเขียนแล้ว จะสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาที่พบเจอกับลูกได้ค่ะ หากพร้อมแล้วมาเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ไปพร้อมกันนะคะ 1. การจัดท่าทางและการควบคุมรยางค์ส่วนต้น (Posture and Proximal control) การทรงท่าเป็นความสามารถในการจัดระเบียบร่างกายให้อยู่ในระนาบที่เหมาะสม และรักษาสมดุลของร่างกายเพื่อให้เกิดความมั่นคงขณะนั่งและเคลื่อนไหว ในส่วนของการควบคุมระยางค์ส่วนต้นเป็นความสามารถในการควบคุมการทำงานของแขนและไหล่ให้มั่นคงอยู่ในตำแหน่งทิศทางเหมาะสม เพื่อให้ข้อมือ นิ้วมือทำการหยิบจับหรือเขียนได้ดี ดังนั้น หากเด็กมีข้อต่อหัวไหล่หรือกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรงก็จะส่งผลต่อการเขียนได้ ทำให้เด็กนั่งได้ไม่นาน มีการลุกเดินบ่อย หรือล้าง่าย สามารถส่งเสริมได้ผ่านกิจกรรมโหนเชือกหรือบาร์ กิจกรรมวาดรูปบนทราย กิจกรรมเขียนกระดานด้วยแปรงทาสี และกิจกรรมสแตมป์หมึกบนผนัง เป็นต้น 2.การควบคุมรยางค์ส่วนปลาย (Distal Control) การควบคุมรยางค์ส่วนปลายเป็นความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหวของนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง รวมถึงการสร้างความมั่นคงแก่ส่วนโค้งของฝ่ามือ เพื่อให้เอื้อต่อการกำวัตถุขนาดต่าง ๆ สามารถส่งเสริมได้ผ่านกิจกรรมการใช้ขวดสเปรย์ในการพ่นสี การใช้หลอดหยด กิจกรรมดีดลูกแก้ว การเล่นของเล่นไขลาน เป็นต้น  3. การหยิบจับในรูปแบบต่าง ๆ…

Read More

พัฒนาการด้านสติปัญญา

พัฒนาการด้านความคิดความเข้าใจของเด็กในแต่ช่วงวัย

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจสงสัยในพัฒนาการด้านสติปัญญาของลูกว่าสมวัยหรือไม่ ลูกอายุเท่านี้ควรมีความสามารถและการเรียนรู้แบบไหน วันนี้ก้านใบ คลินิกพัฒนาการเด็กลพบุรีมีเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget's 4 Stages of Cognitive Development) มาแบ่งปันให้กับทุกๆท่านค่ะ ซึ่งคุณเพียเจต์ได้แบ่งลำดับขั้นพัฒนาการออกเป็น 4 ช่วงวัย โดยเด็กในแต่ละช่วงวัยจะมีความคิดความเข้าใจ ที่แตกต่างกันออกไป เมื่อเราเข้าใจถึงความแตกต่างเหล่านี้เราจะสามารถนำไปปรับใช้และพัฒนาเด็กๆ ให้เกิดทักษะทางสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัยได้ค่ะ หากพร้อมแล้วไปเรียนรู้พร้อมๆกัน นะคะ ในช่วงแรกเกิด -2 ปี เรียกว่า Sensorimotor stage ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เด็กจะเรียนรู้โลกผ่านการสำรวจสิ่งต่างๆ โดยใช้การบูรณาการประสาทรับความรู้สึกหลายอย่างประกอบเข้าด้วยกัน เช่น การรับรส การได้ยิน การสัมผัส การมองเห็น การได้กลิ่น…

Read More